messager

เทศบาลตำบล
หนองหลวง
อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
share สถานที่ท่องเที่ยว
แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ประจำปีงบประมาณ 2561 แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ประจำปีงบประมาณ 2561 กิจกรรม /ระยะเวลา /สถานที่ดำเนิการ /หมายเหตุ 1. งานประเพณีลอยกระทง พ.ย. 2560 พัทยา 3 2. งานประเพณีแข่งเรือ เม.ย. - พ.ค. 2561 พัทยา 3 3. งานประเพณีสงการานต์ เม.ย. 2561 ศาลาเอนกประสงค์ตำบลหนองหลวง 4. งานประเพณีบุญบังไฟ พ.ค. 2561 ศาลาเอนกประสงค์ตำบลหนองหลวง 5. ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีเกษตร ตลอดทั้งปี แปลงเกษตรกลุ่มเกษตรปลอดภัย พัทยา 3
ค่ายเสรีไทยค่ายเสรีไทย ค่าย A ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิด "ขบวนการเสรีไทย" ซึ่งเป็นองค์กรลับใต้ดินของคนไทยผู้รัชาติและเอกราชอธิปไตยของประเทศไทยโดยมี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าขบวนการ อัเป็นการรวมพลังของคนไทยผู้มีจิตรสำนึกในความเป็นไท ทำงานรับใช้มาตุภูมิในการกอยกู้เอกราชและอธิปไตย ขบวนการเสรีไทย ก่อกำเนิดตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2484 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศไทย ดังนั้น วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม 2557 จีงมีพิธีรำลึกวีรกรรมเสรีไทยอีสาน ณ อนุสรณ์สถานวีรชนนักรบนิรนามพลพรรคเสรีไทยค่าย A บริเวณทุ่งขามเปี้ย บ้านหนองหลวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดย นายสมศักดิ์ สุขประเสริฐ นายอำเภอสว่างแดนดิน พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ได้ร่วมงานนี้กันอย่างพร้อมเพรียง หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
พัทยา 3 พัทยา 3 พัทยา 3 เป็นที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เดิมเป็นหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตำบลหนองหลวง ใช้ในการผลิตน้ำประปาประจำตำบลหนองหลวง และยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ของประชาชนในตำบลหนองหลวงปัจจุบันมีการปรับปรุ่งภูมิทัศน์จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่ชอบธรรมชาติโดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงการนต์ จะมีนักท่องเที่ยวมาเล่นน้ำ เป็นจำนวนมาก หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
รูปปั้นเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 1. รูปปั้นเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รูปหล่อหลวงปู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (สถิติเมื่อสร้างแล้วเสร็จ) ที่วัดประชานิยม ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ท่านที่แวะผ่านมาทางถนนนิตโย สายหลักที่เชื่อมระหว่างจังหวัดอุดรธานี สกลนคร และเชื่อมไปยังนครพนม สามารถแวะกราบองค์หลวงปู่ได้ที่แยกทางหลวงเข้าบ้านหนองหลวง (ทางแยกจะอยู่ใกล้ๆกับโรงเรียนหนองหลวงศึกษา) จุดเด่นของวัดประชานิยมคือมีองค์รูปเหมือนหลวงปู่มั่น ซึ่งเพิ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จและฉลองสมโภชรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตไปเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๓ ปี มะเส็ง ที่ผ่านมา ซึ่งมีความสูง ๑๗ เมตร หน้าตักกว้าง ๙ เมตร ถือว่าเป็นองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในขณะนั้น วัดประชานิยม หมู่ที่ 12 ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
พิพิธภัณฑ์หลวงปู่เพชร ฐิตสิโลรอปรับปรุง
สถานที่ท่องเที่ยว
แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ประจำปีงบประมาณ 2561

แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ประจำปีงบประมาณ 2561 กิจกรรม /ระยะเวลา /สถานที่ดำเนิการ /หมายเหตุ 1. งานประเพณีลอยกระทง พ.ย. 2560 พัทยา 3 2. งานประเพณีแข่งเรือ เม.ย. - พ.ค. 2561 พัทยา 3 3. งานประเพณีสงการานต์ เม.ย. 2561 ศาลาเอนกประสงค์ตำบลหนองหลวง 4. งานประเพณีบุญบังไฟ พ.ค. 2561 ศาลาเอนกประสงค์ตำบลหนองหลวง 5. ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีเกษตร ตลอดทั้งปี แปลงเกษตรกลุ่มเกษตรปลอดภัย พัทยา 3
ค่ายเสรีไทย

ค่ายเสรีไทย ค่าย A ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิด "ขบวนการเสรีไทย" ซึ่งเป็นองค์กรลับใต้ดินของคนไทยผู้รัชาติและเอกราชอธิปไตยของประเทศไทยโดยมี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าขบวนการ อัเป็นการรวมพลังของคนไทยผู้มีจิตรสำนึกในความเป็นไท ทำงานรับใช้มาตุภูมิในการกอยกู้เอกราชและอธิปไตย ขบวนการเสรีไทย ก่อกำเนิดตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2484 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศไทย ดังนั้น วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม 2557 จีงมีพิธีรำลึกวีรกรรมเสรีไทยอีสาน ณ อนุสรณ์สถานวีรชนนักรบนิรนามพลพรรคเสรีไทยค่าย A บริเวณทุ่งขามเปี้ย บ้านหนองหลวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดย นายสมศักดิ์ สุขประเสริฐ นายอำเภอสว่างแดนดิน พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ได้ร่วมงานนี้กันอย่างพร้อมเพรียง หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
พัทยา 3

พัทยา 3 พัทยา 3 เป็นที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เดิมเป็นหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตำบลหนองหลวง ใช้ในการผลิตน้ำประปาประจำตำบลหนองหลวง และยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ของประชาชนในตำบลหนองหลวงปัจจุบันมีการปรับปรุ่งภูมิทัศน์จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่ชอบธรรมชาติโดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงการนต์ จะมีนักท่องเที่ยวมาเล่นน้ำ เป็นจำนวนมาก หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
รูปปั้นเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

1. รูปปั้นเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รูปหล่อหลวงปู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (สถิติเมื่อสร้างแล้วเสร็จ) ที่วัดประชานิยม ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ท่านที่แวะผ่านมาทางถนนนิตโย สายหลักที่เชื่อมระหว่างจังหวัดอุดรธานี สกลนคร และเชื่อมไปยังนครพนม สามารถแวะกราบองค์หลวงปู่ได้ที่แยกทางหลวงเข้าบ้านหนองหลวง (ทางแยกจะอยู่ใกล้ๆกับโรงเรียนหนองหลวงศึกษา) จุดเด่นของวัดประชานิยมคือมีองค์รูปเหมือนหลวงปู่มั่น ซึ่งเพิ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จและฉลองสมโภชรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตไปเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๓ ปี มะเส็ง ที่ผ่านมา ซึ่งมีความสูง ๑๗ เมตร หน้าตักกว้าง ๙ เมตร ถือว่าเป็นองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในขณะนั้น วัดประชานิยม หมู่ที่ 12 ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
พิพิธภัณฑ์หลวงปู่เพชร ฐิตสิโล

รอปรับปรุง
info_outline วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หน่วยงาน " การคมนาคมสะดวก ก้าวนำด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตดี มีความรู้ทันสมัย ใส่ใจสภาพแวดล้อม"
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หน่วยงาน

" การคมนาคมสะดวก ก้าวนำด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตดี มีความรู้ทันสมัย ใส่ใจสภาพแวดล้อม"
insert_drive_file เกี่ยวกับหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงานเกี่ยวกับหน่วยงาน คำขวัญ "นมัสการหลวงปู่พระครูศรี อนุสาวรีย์พ่อกำนันทะนง มั่นคงพระประธานองค์ใหญ่ บุญบั้งไฟยังสืบสาน แนวต้นตาลนับร้อย ทุ่งนาน้อยสนามกลางบ้าน งามตระการทิวทัศน์หนองหลวง ชนทั้งปวงยกให้เสรีไทยทุ่งขามเปี้ย" วิสัยทัศน์ "การคมนาคมสะดวก ก้าวนำด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตดี มีความรู้ทันสมัย ใส่ใจสภาพแวดล้อม" ประวัติตำบลหนองหลวง ปี พุทธศักราช 2445 ทางราชการได้เสนอตั้ง หมู่บ้านขึ้นใหม่ ชื่อว่า“บ้านหนองหลวง” โดยขึ้นกับตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร คำว่า “หลวง”มีความหมายว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดสร้างขึ้น เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติชาวบ้านจึงถือว่าเป็นของหลวง หรือเป็นสิ่งสาธารณะทั่วไป ต่อมา ในปี พุทธศักราช 2513 อำเภอสว่างแดนดิน ได้เสนอแยกตำบลค้อใต้ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตำบล เป็น “ตำบลหนองหลวง” อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร และทางราชการได้แต่งตั้งให้ นายสุครีพ (เครือ) ศรีมา เป็นกำนันตำบลหนองหลวงเป็นคนแรกในปีเดียวกัน โดยกำหนดให้บ้านหนองหลวงเดิม เป็นบ้านหนองหลวงหมู่ที่ 1 บ้านโคกดินแดง เป็น หมู่ที่ 2 บ้านหนองหลวงน้อยเป็น หมู่ที่ 3 บ้านหนองผือ เป็น หมู่ที่ 4 บ้านโคกสำราญเป็น หมู่ที่ 5 บ้านชุมชัยเป็น หมู่ที่ 6 บ้านนาอ้อมเป็น หมู่ที่ 7 บ้านโคกน้ำเกลี้ยงเป็น หมู่ที่ 8 การขยายของชุมชนบ้านหนองหลวง หลังจากแยกบ้านหนองหลวงเป็นสองหมู่บ้านแล้วบ้านหนองหลวง ทั้งหมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 3 ก็ได้เลือกตั้งผู้นำผลัดเปลี่ยนกันบริหารบ้านเมืองเรื่อยมา จนมีจำนวนประชากร และบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น ทางราชการจึงได้เสนอแยกบ้านหนองหลวงน้อย หมู่ที่ 3 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 9 แยกบ้านหนองหลวง หมู่ที่ 1 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 10 ในปีเดียวกันด้วย บ้านหนองหลวงจึงถูกแยกเป็นสี่หมู่บ้าน แต่การขยายตัวของบ้านเรือนและประชากรของบ้านหนองหลวงน้อยหมู่ที่ 3 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆทางราชการจึงได้เสนอแยกบ้านหนองหลวงน้อย หมู่ที่ 3 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 11 บ้านหนองหลวงจึงถูกแยกเป็นอีกห้าหมู่บ้านด้วยจำนวนผู้คนที่ต้องการเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองหลวงยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยมาด้วยทำเลที่ตั้งภูมิประเทศ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนอุปนิสัยอันดีงามของชาวบ้านหนองหลวง ทำให้ความต้องการเข้ามาตั้งบ้านเรียนของประชาชนในบ้านหนองหลวง หมูที่ 9 ก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน ทางราชการจึงได้เสนอแยกบ้านหนองหลวงหมู่ที่ 9 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 12 อีก ในปี พุทธศักราช 2550 ในปัจจุบัน ตำบลหนองหลวง ห่างจากอำเภอสว่างแดนดิน ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๓ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสกลนคร ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 94 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๔๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๘,๗๕๐ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านต้ายและถนนนิตโย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน และตำบลท่าศิลา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน และตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับ การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๗๒ เมตร ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิจะร้อนตั้งแต่ 28 – 40 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ตุลาคม ฝนจะตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน ปริมาณน้ำฝนจะมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับอิทธิพลและผลกระทบจากพายุฝน และพายุดีเปรสชั่นในมหาสมุทรแปซิกฟิคและทะเลจีนใต้ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 13 องศาเซลเซียส ลักษณะของดิน สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับการทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัย
อื่นๆมวลชนจัดตั้ง ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จำนวน 323 คน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 2 รุ่น จำนวน 151 คน
ทรัพยากรธรรมชาติน้ำ ตำบลหนองหลวงมีหนองน้ำขนาดใหญ่ และลำห้วยหลายสายแต่น้ำจะไหลลงสู่พื้นที่ลุ่มอย่างรวดเร็ว ห้วยหนอง คลอง ส่วนใหญ่ตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี ทำให้ขาดแคลนน้ำใช้อุปโภค บริโภค และการเกษตร ในช่วงฤดูแล้ง ทางเทศบาลตำบลหนองหลวง จึงได้มีการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยการขุดลอกลำห้วยหลายสาย และก่อสร้างฝายน้ำล้นหลายแห่ง ทั้งนำน้ำใต้ดินมาใช้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน มีแหล่งน้ำ ได้แก่ ห้วยก้านเหลือง ห้วยกุดหัวควาย ห้วยขุมปูน ห้วยบง คลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น ป่าไม้ ตำบลหนองหลวงมีเนื้อที่ป่า 1,143 ไร่ ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพราะพื้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนประชาชน ภูเขา ตำบลหนองหลวงไม่มีพื้นที่ติดกับภูเขา
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมการนับถือศาสนา ประชาชนตำบลหนองหลวงโดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัด 7 แห่ง 1. วัดป่าประชานิยม 2. วัดสโมสรประชาสามัคคี 3. วัดบ้านหนองย่างชิ้น 4. วัดป่าบูรพาราม 5. วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล 6. วัดป่าบ้านโคกน้ำเกลี้ยง 7. วัดบ้านหนองผือ สำนักสงฆ์ (ยังไม่ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นวัด) 1 แห่ง 1. วัดสวนธรรมสุขโต ประเพณีและงานประจำปี ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน งานก่อเจดีย์ทราย ประมาณเดือน เมษายน การแข่งขันเรือยาวพื้นฐาน ประมาณเดือน เมษายน ประเพณีบุญบั้งไฟ ประมาณเดือน พฤษภาคม ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม ประเพณีบุญเดือนสิบ ประมาณเดือน ตุลาคม ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน พฤศจิกายน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตพื้นที่ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทอเสื่อจากต้นกก ภาษาถิ่น ภาษาไทยกลาง และ ภาษาลาว สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในตำบลหนองหลวง มีสินค้าพื้นเมืองและของฝากจะเป็น เสื่อกก กระเป๋าสาน
ระบบเศรษฐกิจ การเกษตร ด้านการเกษตรกรรมในท้องถิ่น มีพื้นที่ในการทำการเกษตร 24,724 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 87.36 ของพื้นที่ทั้งหมดในตำบลหนองหลวง ผลผลิตทางการ เกษตรที่สำคัญ ได้แก่ การปลูกข้าว อ้อย มัน ข้าวโพด และพืชผักสวนครัว สามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอยทางการเกษตร ได้ดังนี้ 1. ที่ดินทำนา จำนวน 19,991 ไร่ 2. ที่ดินทำไร่ จำนวน 2,428 ไร่ 3. ที่ดินทำสวน จำนวน 1,505 ไร่ 4. ที่ดินเลี้ยงสัตว์ จำนวน 800 ไร่ 5. พื้นที่การใช้น้ำ ใช้น้ำชลประทาน จำนวน 4,970 ไร่ และ อาศัยน้ำฝน จำนวน 23,331 ไร่ การประมง ด้านประมงในตำบลหนองหลวง มีพื้นที่จำนวน 151 ไร่ การปศุสัตว์ ด้านปศุสัตว์ ประชาชนในตำบลหนองหลวง ทำการเลี้ยงสัตว์ แยกได้ดังนี้ โคเนื้อ จำนวน 67 ตัว โคนม จำนวน 2 ตัว กระบือ จำนวน 77 ตัว สุกร จำนวน 77 ตัว ไก่ จำนวน 2,587 ตัว เป็ด จำนวน 428 ตัว การบริการ ปั๊มน้ำมัน ขนาดใหญ่ 1 แห่ง ปั๊มน้ำมันหลอด/ปั้มหยอดเหรียญ 1 แห่ง ร้านค้าเบ็ดเตล็ด 75 แห่ง ร้านรับซ่อมยานยนต์ 15 แห่ง การท่องเที่ยว 1. แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศพัทยา 3 ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 2. หลวงปู่มั่นองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (วัดป่าประชานิยม) 3. เจดีย์พิพิธภัณฑ์ พระครูศรีธรรมวิภาต จันทรังสี (วัดสโมสรประชาสามัคคี) การอุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลตำบลหนองหลวง มีจำนวนอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมบริการขนาดเล็ก เช่น โรงสี การซ่อม รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ปั๊มน้ำมัน ร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น และอุตสาหกรรมการขายปลีกและส่ง เช่น ร้านค้าโชห่วย โรงขนมจีน โรงน้ำดื่ม เป็นต้น การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ การจดทะเบียนพาณิชย์ ปี 2566 มีผู้ขอจดทะเบียนพาณิชย์ 15 ราย ขอยกเลิก การจดทะเบียนพาณิชย์ - ราย และทะเบียนพาณิชย์ฯ ที่ยังคงดำเนินการอยู่ ณ 1 กรกฎาคม 2566 ตลาดสด จำนวน 1 แห่ง กลุ่มอาชีพ จำนวน 9 กลุ่ม ซึ่งจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน จำนวน 8 กลุ่ม รายละเอียดดังนี้ กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ กลุ่มแปรรูปน้ำหมักสมุนไพร กลุ่มเย็บผ้าห่มปิกนิก กลุ่มเย็บผ้า กลุ่มประดิษฐ์ตะกร้าจากเส้นพลาสติก กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มเกษตรปลอดภัย (ยังไม่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน) กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ แรงงาน แรงงานในตำบลหนองหลวงโดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานภาคการเกษตร โดยเป็นการรับจ้างทั่วไปในภาคการเกษตร และทำงานในบริษัท ประจำอำเภอและต่างประเทศ
เกี่ยวกับหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน

เกี่ยวกับหน่วยงาน คำขวัญ "นมัสการหลวงปู่พระครูศรี อนุสาวรีย์พ่อกำนันทะนง มั่นคงพระประธานองค์ใหญ่ บุญบั้งไฟยังสืบสาน แนวต้นตาลนับร้อย ทุ่งนาน้อยสนามกลางบ้าน งามตระการทิวทัศน์หนองหลวง ชนทั้งปวงยกให้เสรีไทยทุ่งขามเปี้ย" วิสัยทัศน์ "การคมนาคมสะดวก ก้าวนำด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตดี มีความรู้ทันสมัย ใส่ใจสภาพแวดล้อม" ประวัติตำบลหนองหลวง ปี พุทธศักราช 2445 ทางราชการได้เสนอตั้ง หมู่บ้านขึ้นใหม่ ชื่อว่า“บ้านหนองหลวง” โดยขึ้นกับตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร คำว่า “หลวง”มีความหมายว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดสร้างขึ้น เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติชาวบ้านจึงถือว่าเป็นของหลวง หรือเป็นสิ่งสาธารณะทั่วไป ต่อมา ในปี พุทธศักราช 2513 อำเภอสว่างแดนดิน ได้เสนอแยกตำบลค้อใต้ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตำบล เป็น “ตำบลหนองหลวง” อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร และทางราชการได้แต่งตั้งให้ นายสุครีพ (เครือ) ศรีมา เป็นกำนันตำบลหนองหลวงเป็นคนแรกในปีเดียวกัน โดยกำหนดให้บ้านหนองหลวงเดิม เป็นบ้านหนองหลวงหมู่ที่ 1 บ้านโคกดินแดง เป็น หมู่ที่ 2 บ้านหนองหลวงน้อยเป็น หมู่ที่ 3 บ้านหนองผือ เป็น หมู่ที่ 4 บ้านโคกสำราญเป็น หมู่ที่ 5 บ้านชุมชัยเป็น หมู่ที่ 6 บ้านนาอ้อมเป็น หมู่ที่ 7 บ้านโคกน้ำเกลี้ยงเป็น หมู่ที่ 8 การขยายของชุมชนบ้านหนองหลวง หลังจากแยกบ้านหนองหลวงเป็นสองหมู่บ้านแล้วบ้านหนองหลวง ทั้งหมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 3 ก็ได้เลือกตั้งผู้นำผลัดเปลี่ยนกันบริหารบ้านเมืองเรื่อยมา จนมีจำนวนประชากร และบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น ทางราชการจึงได้เสนอแยกบ้านหนองหลวงน้อย หมู่ที่ 3 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 9 แยกบ้านหนองหลวง หมู่ที่ 1 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 10 ในปีเดียวกันด้วย บ้านหนองหลวงจึงถูกแยกเป็นสี่หมู่บ้าน แต่การขยายตัวของบ้านเรือนและประชากรของบ้านหนองหลวงน้อยหมู่ที่ 3 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆทางราชการจึงได้เสนอแยกบ้านหนองหลวงน้อย หมู่ที่ 3 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 11 บ้านหนองหลวงจึงถูกแยกเป็นอีกห้าหมู่บ้านด้วยจำนวนผู้คนที่ต้องการเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองหลวงยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยมาด้วยทำเลที่ตั้งภูมิประเทศ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนอุปนิสัยอันดีงามของชาวบ้านหนองหลวง ทำให้ความต้องการเข้ามาตั้งบ้านเรียนของประชาชนในบ้านหนองหลวง หมูที่ 9 ก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน ทางราชการจึงได้เสนอแยกบ้านหนองหลวงหมู่ที่ 9 เพิ่มเป็นหมู่ที่ 12 อีก ในปี พุทธศักราช 2550 ในปัจจุบัน ตำบลหนองหลวง ห่างจากอำเภอสว่างแดนดิน ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๓ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสกลนคร ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 94 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๔๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๘,๗๕๐ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านต้ายและถนนนิตโย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน และตำบลท่าศิลา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน และตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับ การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๗๒ เมตร ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิจะร้อนตั้งแต่ 28 – 40 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ตุลาคม ฝนจะตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน ปริมาณน้ำฝนจะมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับอิทธิพลและผลกระทบจากพายุฝน และพายุดีเปรสชั่นในมหาสมุทรแปซิกฟิคและทะเลจีนใต้ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 13 องศาเซลเซียส ลักษณะของดิน สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับการทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัย
อื่นๆ

มวลชนจัดตั้ง ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จำนวน 323 คน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 2 รุ่น จำนวน 151 คน
ทรัพยากรธรรมชาติ

น้ำ ตำบลหนองหลวงมีหนองน้ำขนาดใหญ่ และลำห้วยหลายสายแต่น้ำจะไหลลงสู่พื้นที่ลุ่มอย่างรวดเร็ว ห้วยหนอง คลอง ส่วนใหญ่ตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี ทำให้ขาดแคลนน้ำใช้อุปโภค บริโภค และการเกษตร ในช่วงฤดูแล้ง ทางเทศบาลตำบลหนองหลวง จึงได้มีการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยการขุดลอกลำห้วยหลายสาย และก่อสร้างฝายน้ำล้นหลายแห่ง ทั้งนำน้ำใต้ดินมาใช้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน มีแหล่งน้ำ ได้แก่ ห้วยก้านเหลือง ห้วยกุดหัวควาย ห้วยขุมปูน ห้วยบง คลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น ป่าไม้ ตำบลหนองหลวงมีเนื้อที่ป่า 1,143 ไร่ ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพราะพื้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนประชาชน ภูเขา ตำบลหนองหลวงไม่มีพื้นที่ติดกับภูเขา
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

การนับถือศาสนา ประชาชนตำบลหนองหลวงโดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัด 7 แห่ง 1. วัดป่าประชานิยม 2. วัดสโมสรประชาสามัคคี 3. วัดบ้านหนองย่างชิ้น 4. วัดป่าบูรพาราม 5. วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล 6. วัดป่าบ้านโคกน้ำเกลี้ยง 7. วัดบ้านหนองผือ สำนักสงฆ์ (ยังไม่ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นวัด) 1 แห่ง 1. วัดสวนธรรมสุขโต ประเพณีและงานประจำปี ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน งานก่อเจดีย์ทราย ประมาณเดือน เมษายน การแข่งขันเรือยาวพื้นฐาน ประมาณเดือน เมษายน ประเพณีบุญบั้งไฟ ประมาณเดือน พฤษภาคม ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม ประเพณีบุญเดือนสิบ ประมาณเดือน ตุลาคม ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน พฤศจิกายน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตพื้นที่ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทอเสื่อจากต้นกก ภาษาถิ่น ภาษาไทยกลาง และ ภาษาลาว สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในตำบลหนองหลวง มีสินค้าพื้นเมืองและของฝากจะเป็น เสื่อกก กระเป๋าสาน
ระบบเศรษฐกิจ

การเกษตร ด้านการเกษตรกรรมในท้องถิ่น มีพื้นที่ในการทำการเกษตร 24,724 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 87.36 ของพื้นที่ทั้งหมดในตำบลหนองหลวง ผลผลิตทางการ เกษตรที่สำคัญ ได้แก่ การปลูกข้าว อ้อย มัน ข้าวโพด และพืชผักสวนครัว สามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอยทางการเกษตร ได้ดังนี้ 1. ที่ดินทำนา จำนวน 19,991 ไร่ 2. ที่ดินทำไร่ จำนวน 2,428 ไร่ 3. ที่ดินทำสวน จำนวน 1,505 ไร่ 4. ที่ดินเลี้ยงสัตว์ จำนวน 800 ไร่ 5. พื้นที่การใช้น้ำ ใช้น้ำชลประทาน จำนวน 4,970 ไร่ และ อาศัยน้ำฝน จำนวน 23,331 ไร่ การประมง ด้านประมงในตำบลหนองหลวง มีพื้นที่จำนวน 151 ไร่ การปศุสัตว์ ด้านปศุสัตว์ ประชาชนในตำบลหนองหลวง ทำการเลี้ยงสัตว์ แยกได้ดังนี้ โคเนื้อ จำนวน 67 ตัว โคนม จำนวน 2 ตัว กระบือ จำนวน 77 ตัว สุกร จำนวน 77 ตัว ไก่ จำนวน 2,587 ตัว เป็ด จำนวน 428 ตัว การบริการ ปั๊มน้ำมัน ขนาดใหญ่ 1 แห่ง ปั๊มน้ำมันหลอด/ปั้มหยอดเหรียญ 1 แห่ง ร้านค้าเบ็ดเตล็ด 75 แห่ง ร้านรับซ่อมยานยนต์ 15 แห่ง การท่องเที่ยว 1. แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศพัทยา 3 ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 2. หลวงปู่มั่นองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (วัดป่าประชานิยม) 3. เจดีย์พิพิธภัณฑ์ พระครูศรีธรรมวิภาต จันทรังสี (วัดสโมสรประชาสามัคคี) การอุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลตำบลหนองหลวง มีจำนวนอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมบริการขนาดเล็ก เช่น โรงสี การซ่อม รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ปั๊มน้ำมัน ร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น และอุตสาหกรรมการขายปลีกและส่ง เช่น ร้านค้าโชห่วย โรงขนมจีน โรงน้ำดื่ม เป็นต้น การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ การจดทะเบียนพาณิชย์ ปี 2566 มีผู้ขอจดทะเบียนพาณิชย์ 15 ราย ขอยกเลิก การจดทะเบียนพาณิชย์ - ราย และทะเบียนพาณิชย์ฯ ที่ยังคงดำเนินการอยู่ ณ 1 กรกฎาคม 2566 ตลาดสด จำนวน 1 แห่ง กลุ่มอาชีพ จำนวน 9 กลุ่ม ซึ่งจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน จำนวน 8 กลุ่ม รายละเอียดดังนี้ กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ กลุ่มแปรรูปน้ำหมักสมุนไพร กลุ่มเย็บผ้าห่มปิกนิก กลุ่มเย็บผ้า กลุ่มประดิษฐ์ตะกร้าจากเส้นพลาสติก กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มเกษตรปลอดภัย (ยังไม่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน) กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ แรงงาน แรงงานในตำบลหนองหลวงโดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานภาคการเกษตร โดยเป็นการรับจ้างทั่วไปในภาคการเกษตร และทำงานในบริษัท ประจำอำเภอและต่างประเทศ